top of page

พระพุทธสิหิงค์ (จำลอง)

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง 79 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 63 เซนติเมตร

เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 

_DSC6888.jpg

 พระเจ้าศรีธรรมโศกราช
แห่งราชอาณาจักรตามพรลิงก์

ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมา ได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. 2205 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง 105 ปี เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. 2338 โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล นิยมเชิญออกมาช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขนานนามว่า พระพุทธสิหิงค์ อีกองค์หนึ่งประดิษฐานในวิหารวัดพระเจ้าเม็งรายเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ที่ฐานพระพุทธรูปมีจารึกด้วยอักษรธรรมล้านนาภาษาบาลีและภาษาไทยวนว่า ผู้สร้างเป็นพระสังฆราชนามว่า พระศรีสัทธัมมไตรโลกรัตนจุฬามหาสังฆราช สร้าง พ.ศ. 2012 (ตรงกับรัชสมัยพญาติโลกราช) ขนานนามว่า พระพุทธสิหิงค์ ฐานของพระพุทธรูปมีน้ำหนักทองสำริด 24,000 หน่วย มีจารึกที่ฐานเป็นภาษาบาลี แปลความว่า “ศรีสัทธัมมะมหาสังฆราชให้สร้างพระพุทธรูปสิหิงค์ขึ้นประทับนั่งเหนือบัลลังก์อัน ประเสริฐเหมือนพระอาทิตย์ปรากฏเหนือเขายุคันธรและเหมือนพระจันทร์งามเด่นอยู่บนท้องฟ้า... (ภาษาไทยวน) ศรีสัทธัมมะไตรโลกรัตนจุฬา มหาสังฆราช... ให้หล่อพระพุทธรูปสิหิงค์องค์นี้ เพื่อเป็นไม้ไต้แก่โลก และ(เพื่อ)คนทังหลายบูชา เป็นส่วนบุญอันจัก(นำ) ไปเกิดในเมืองฟ้าและนิพพาน ที่ไม่รู้จักแก่เถ้า และไม่รู้ตาย...ฐาน (ของพระพุทธรูปองค์นี้) มีน้ำหนัก 2,400” (ฮันส์ เพนธ์. 2519. คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในเวียงเชียงใหม่. หน้า 59.) ตามตำนานเล่าสืบต่อกันถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระพุทธสิหิงค์ว่า "การสร้างได้ประกอบขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน 3 ประการคือ 1) คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี 2) แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลังกาผู้สร้าง 3) อานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่พระพุทธสิหิงค์เสด็จประทับอยู่ที่ใด พระพุทธศาสนาย่อมรุ่งเรืองดังดวงประทีปเสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่" ส่วนพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานที่จังหวัดเชียงใหม่และนครศรีธรรมราชนั้น จะเป็นพุทธลักษณะปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนสิงค์ 1 คือจะเป็นพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร ส่วนองค์ที่กรุงเทพจะเป็นแบบขัดสมาธิราบ

_DSC6822.jpg

คำอธิษฐานของพระอรหันต์ผู้ร่วมพิธี

แรงอธิษฐานของพระเจ้ากรุงลงกาผู้ที่ทรงให้สร้างและ อนุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

การสร้างพระพุทธสิหิงค์ประกอบขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน 3 ประการ

คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์

 (นำ)    หันทะ มะยัง  พุทธะปะสังสาคาถาโย  พุทธะสิหิงโค นามะ ภะณามะ เส ฯ

      อิติ   ปะวะระสิหิงโค       อุตตะมะยะโสปิ  เตโช

ยัตถะ  กัตถะ  จิตโตโส           สักกาโร    อุปาโท

สะกาละพุทธะสาสะนัง           โชตะยันโตวะ  ทีโป

สุระนะเรหิ   มะหิโต              ธะระมาโน วะ  พุทโธติ ฯ

พุทธะสิหิงคา                      อุบัติมา  ณ  แดนใด

ประเสริฐ  ธ  เกริกไกร           ดุจกายพระศาสดา

เป็นที่เคารพน้อม                  มนุษย์พร้อมทั้งเทวา

เปรียบเช่นชวาลา                 ศาสนาที่ยืนยง

เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธ          สุวิสุทธิ์พระชนม์คง

แดนใดพระดำรง                  พระศาสน์คงก็จำรูญ

ด้วยเดชสิทธิศักดิ์                  ธ  พิทักษ์อนุกูล

พระศาสน์บ่มีสูญ                  พระเพิ่มพูนมหิทธา

ข้าฯ  ขอเคารพน้อม              วจีค้อมขึ้นบูชา

พิทักษ์  ธ  รักษา                  พระศาสน์มาตลอดกาล

ปวงข้าฯ  จะประกาศ             พุทธศาสน์ให้ไพศาล

ขอพระอภิบาล                    ชินมาร  นิรันดร์…เทอญ ฯ

_DSC6824.jpg

วิดีโอสาระ: พระพุทธสิหิงค์

bottom of page